ส้มโอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus maxima (Burm.) Merrill
ชื่อสามัญ : Pommelo
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
♦ อุณหภูมิเฉลี่ย 25 – 30 องศาเซลเซียส
♦ ปริมาณน้ำฝน 1200 – 2000 มิลลิเมตร ต่อปี
♦ ดินร่วนปนทราย การระบายน้ำดี
♦ ความเป็น กรด – ด่าง 5.5 – 6 pH
การปลูก
การเตรียมดิน
♦ วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดินและความเป็น กรด-ด่าง ของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
♦ ไถดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 20 – 25 วัน พรวนย่อยดินอีก 2 ครั้ง ปรับระดับดินให้สม่ำเสมอ และคราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง
♦ พื้นที่ดอนที่น้ำไม่ท่วมขัง ไม่ต้องยกร่อง ควรทำร่องน้ำตามความยาวของพื้นที่ กว้าง 25 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร ทุกระยะ 100 เมตร ของแนวปลูก หรืออาจยกร่องเป็นลักษณะลูกฟูก เพื่อระบายน้ำโดยทำการกักน้ำเป็นจุดๆ ขณะที่น้ำไหลผ่านร่องตลอดเวลา
♦ พื้นที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมขัง ปลูกบนสันร่องกว้าง 6 – 7 เมตร ระหว่างร่องกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร ควรยกร่องในแนวทิศ เหนือ-ใต้ เพื่อให้ส้มโอได้รับแสงแดดสม่ำเสมอและทั่วถึง หากเป็นที่ลุ่มมากต้องทำคันกั้นน้ำรอบสวน และฝังท่อระบายน้ำเข้าและออกจากสวน เพื่อควบคุมระดับน้ำในสวน ได้ตลอดเวลา
ระยะปลูก
♦ พื้นที่ดอน ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 6 x 6 เมตร และควรปลูกพืชล้มลุกด้วยในช่วงระยะเวลาช่วง ปีที่1 – ปีที่4 เพื่อเพิ่มรายได้อีกทาง ก่อนที่ส้มโอจะให้ผลผลิต
♦ พื้นที่ลุ่ม ระยะปลูกแถวและต้น 8 x 6 เมตร
หลุมปลูก (ปลูกช่วงต้นฤดูฝน)
♦ ขุดหลุมปลูกขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร
♦ ผสมดินที่ได้จากการขุดหลุมกับปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 4 – 6 กิโลกรัม ใส่ลงในหลุมประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
วิธีปลูก
♦ วางตันพันธุ์ส้มโอลงในหลุมให้รอยต่อระหว่างต้นตอและราก สูงกว่าระดับพื้นดินปากหลุมเล็กน้อย
♦ ใช้มีดคมกรีดจากก้นถุงขึ้นมาจนถึงปากถุงทั้งสองด้าน แล้วดึงถุงพลาสติกออก ระวังอย่าให้ดินแตก
♦ กลบดินที่เหลือลงในหลุม ซึ่งจะนูนเหมือนหลังเต่า แล้วกดดินบริเวณรอบต้นตอให้แน่น
♦ ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดต้นตอเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นตอหรือต้นพันธุ์โยกคลอน ล้ม
♦ คลุมดินบริเวณโคนต้นด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง
♦ รดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
♦ ความต้องการน้ำของส้มโอประมาณ 0.6 เท่าของค่าอัตราการระเหยน้ำ (มิลลิเมตรต่อวัน) คูณด้วยพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม เช่น เมื่ออัตราการระเหยของน้ำวันละ 3.8 – 5.7 มิลลิเมตร มีพื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตร เท่ากับการให้น้ำ 2.3 – 3.4 ลิตร ต่อต้น ต่อวัน
♦ ส้มโออายุ 4 ปี เริ่มให้ผลผลิต ควรงดให้น้ำ 15 – 30 วัน ก่อนออกดอก เพื่อให้ส้มโอออกดอกและติดผลได้ดี ไม่แตกยอดอ่อน
♦ ควรงดการให้น้ำในช่วงส้มโอออกดอก เพื่อป้องกันดอกร่วงและเริ่มให้น้ำอีกหลังช่อดอกเริ่มพัฒนา โดยเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยจนถึงปริมาณที่ระดับน้ำการให้น้ำที่ปกติ
♦ ถ้าใบอ่อนเริ่มห่อตัวแสดงว่าส้มโอขาดน้ำ ควรรีบให้น้ำ
การดูแลรักษาหลังติดผล
♦ เก็บผลที่เป็นโรค หรือมีอาการยางไหล นำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก
♦ ตัดแต่งผลออกให้เหลือผลเดี่ยว 2 – 3 ผลต่อกิ่ง
♦ ควรใช้ไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก
การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม
♦ หลังเก็บเกี่ยว ควรตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งแห้ง กิ่งคดงอ และกิ่งเบียดเสียดออก เพื่อให้ทรงพุ่มโดยเฉพาะยอดโปร่งแสงแดดส่องเข้าถึงภายในทรงพุ่ม
♦ หลังการตัดแต่งกิ่ง ควรทาปูนขาว หรือปูนแดง
การเก็บเกี่ยว
ระยะการเก็บเกี่ยว
♦ เก็บผลผลิตหลังดอกบาน 6.5 – 7.5 เดือน ถ้าเก็บผลอายุมากขึ้น คุณภาพของเนื้อส้มโอจะลดลง เนื้อจะแข็งร่วนคล้ายข้าวสาร
♦ ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ต่อมน้ำมันรอบจุดสีน้ำตาลที่บริเวณก้นผลจะห่าง สีเปลือกรอบจุดสีน้ำตาลจะเป็นสีเหลือง ผิวก้นผลไม่เรียบ นิ่ม ผิงผลมีนวล
♦ ผลที่เก็บหลังดอกบาน 6.5 เดือน มีรสหวานเปรี้ยว มีอายุการวางขายนาน ผลที่เก็บหลังดอกบาน 7.5 เดือน มีรสอมเปรี้ยวเพียงเล็กน้อย
การปฏิบัติขณะเก็บเกี่ยว
♦ ใช้กรรไกรตัดก้านขั้วผลและมีถุงผ้ารองรับ
♦ ส้มโอที่เก็บเกี่ยวแล้ว ควรใส่เข่งหรือตะกร้าที่สะอาด แล้วรวบรวมไว้ในที่ร่ม
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
การคัดเลือกผล
♦ คัดผลที่มีตำนิและเป็นโรคออก
♦ คัดขนาดคุณภาพส้มโอตามมาตรฐานส้มโอ หรือตามความต้องการของตลาด
ตัดแต่งและล้างทำความสะอาด
ผึ่งให้แห้ง จะเคลือบด้วยสารเคลือบผิวหรือไม่ก็ได้ การตลาดภายในประเทศบรรจุในตะกร้าพลาสติก โดยเรียงส้มโอ 2-3 ชั้น สำหรับตลาดต่างประเทศบรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูก เรียง 1-2 ชั้น โดยมีกระดาษลูกฟูกคั่นระหว่างผล
การเก็บรักษาและการขนส่ง
♦ การเก็บรักษา
เก็บผลส้มโอในภาชนะที่สะอาดและเก็บไว้ที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ถ้าเก็บรักษาในห้องเย็นควรเก็บที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85 – 95 %
♦ การขนส่ง
การขนส่งทางเรือโดยใช้ตู้ปรับอุณหภูมิ หากขนส่งนาน 2 สัปดาห์ ควรใช้อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำกว่านี้เหมาะสำหรับการขนส่งระยะสั้นไม่เกิน 1 – 2 สัปดาห์
อัตราการใช้ (เอส-แมททริกซ์) กับ ส้มโอ
1 ฝา = 15 ซี.ซี. (จำนวนครั้งที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของพืช)
กรณีแช่เมล็ดพันธุ์หรือฉีดพ่นต้นพันธุ์
เอส-แมททริกซ์ สูตร 1 ใช้ 15 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร (แช่เมล็ดพันธุ์/แช่ท่อนพันธุ์/ฉีดพ่นท่อนพันธุ์)
ครั้งที่ 1 และ 2 (ทุกๆ 7 วัน)
เอส-แมททริกซ์ สูตร 1 ใช้ 15 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
ครั้งที่ 3 เป็นต้นไปใช้
เอส-แมททริกซ์ สูตร 1 + เอส-แมททริกซ์ สูตร 2 + เอส-แมททริกซ์ สูตร 3 + เอส-แมททริกซ์ สูตร 4 + เอส-แมททริกซ์ สูตร 5
สูตร 1 ใช้ 15 ซี.ซี. สูตร 2 ใช้ 15 ซี.ซี. สูตร 3 ใช้ 15 ซี.ซี. สูตร 4 ใช้ 15 ซี.ซี. สูตร 5 ใช้ 1 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
ข้อแนะนำ
– กรณีใช้เอส-แมททริกซ์พร้อมกันหลายสูตร สามารถใช้ในปริมาณสูตรละ 7.5 ซี.ซี.ได้ (ยกเว้นเอส-แมททริกซ์ สูตร 5 ใช้อัตรา 1 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร)
– ห้ามใช้เอส-แมททริกซ์ สูตร 2 และ เอส-แมททริกซ์ สูตร 5 กับพืชต้นอ่อน หรือเพิ่งงอก
– กรณีที่พืชโตแล้ว เริ่มต้นการใช้ตามโปรแกรมด้านบน
TrackBack URL
http://www.smatrixcenter.com/s-matrix-citrus-maxima/trackback/